กระแสโลกที่พัดหวนกลับมาทางตะวันออก ทำให้ใครๆ
ก็หันมาสนใจศึกษาศาสตร์ของตะวันออกกันทั้งโลก แม้แต่ศาสตร์อโรมาเธอราพี
อโรมาเธอราพี เป็นศาสตร์ธรรมชาติบำบัดสาขาหนึ่งที่มีกำเนิดมาจากฝั่งตะวันตก
และกำลังแพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย
ศาสตร์ตะวันตกแขนงนี้มาเกี่ยวกับตะวันออกได้อย่างไร?
ก็เพราะได้มีนักอโรมาเธอราพิสต์ชาวเยอรมันคนหนึ่ง
ได้ศึกษาการแพทย์แผนตะวันออก และนำศาสตร์แห่งสุขภาพทั้ง 2 แขนงนี้มาประยุกต์เข้าด้วยกัน
เขาคนนั้นคือ
ดร.มาร์ติน เฮงไลน์ (Dr.
Martin Henglein) แห่งสถาบันInternational School of
Aromatherapy and Osmology Germany
Dr. Martin Henglein picture from intermet |
คงต้องท้าวความสักนิดถึงความเป็นมาของนักอโรมาเธอราพิสต์ผู้นี้
ดร.มาร์ติน เป็นชาวเยอรมนี ได้ศึกษาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติบำบัดและอโรมาเธอราพีในประเทศอังกฤษ
ต่อมาได้มาทำงานในโรงพยาบาลทางธรรมชาติบำบัดโดยเฉพาะในฝรั่งเศส
เขาศึกษาอโรมาเธอราพีจากลูกศิษย์ของเรอเน่ โมริซ กัตเตอฟอสเซ่ (René-Maurice
Gattefossé) นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้เป็นบิดาแห่งอโรมาเธอราพี
หลังจากนั้น ดร.มาร์ตินยังได้ศึกษาการแพทย์แผนตะวันออก
ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และไทย และได้วิจัยตลอดจนนำมาใช้กับคนไข้ในคลีนิก
จนกระทั่งสามารถสร้างทฤษฎีการใช้อโรมาเธอราพีด้วยหลักการแพทย์ไทย
การแพทย์แผนไทย
เป็นศาสตร์ที่คำนึงถึงความสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายและสภาพแวดล้อม
คล้ายกับอายุรเวทของอินเดีย
การแพทย์แผนไทยก็มีต้นเค้ามาจากอินเดียเช่นกัน
แต่อาศัยหลักปรัชญาทางสายพุทธศาสนา เดิมเรียกวิชานี้กันว่า ติกิจฉา
แต่ต่อมาคำนี้ได้เลือนไป เมื่ออายุรเวทของอินเดียมีชื่อเสียง
จึงเกิดการฟื้นฟูการแพทย์ไทยขึ้น แล้วเลยเรียก วิชาของเราว่า อายุรเวทไปด้วย
หลักการแพทย์ไทยที่ดร.มาร์ตินนำมาประยุกต์กับงานอโรมาเธอราพี
ได้แยกประเภทคนตามลักษณะสุขภาพออกไปตามธาตุทั้ง 4 โดยธาตุในทางสุขภาพนี้
เราเรียกว่า ธาตุเจ้าเรือน ประกอบด้วย ธาตุเจ้าเรือนดิน ธาตุเจ้าเรือนน้ำ
ธาตุเจ้าเรือนลม และธาตุเจ้าเรือนไฟ
แพทย์แผนไทยมองว่า คนเราก็เหมือนกับสรรพสิ่ง
ประกอบกันขึ้นด้วยการประชุมของธาตุทั้ง 4 ที่จะทำหน้าที่ในร่างกายต่างๆ กัน
ทำให้ร่างกายดำเนินไปด้วยความสมดุล ประกอบด้วยธาตุดิน 20 ประการ ธาตุน้ำ 12 ประการ
ธาตุลม 6 ประการ และธาตุไฟ 4 ประการ
การประชุมของธาตุทั้ง 4 ในตัวเรานั้น
แต่ละคนล้วนมีครบทั้ง 4 ธาตุ หากแต่ว่า อาจมีบางธาตุที่มีความเด่นในตัว
ทำให้ลักษณะของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป
รวมทั้งวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อม ก็มีอิทธิพลอย่างสำคัญ
ในการคำนวณหาธาตุเจ้าเรือนประจำตัวนั้น
ใช้วิธีดูจากช่วงเวลาที่เราปฏิสนธิในครรภ์มารดา เรียกกันว่า ธาตุเจ้าเรือนกำเนิด
ด้วยการคำนวณจากวันเกิด นับถอยหลังไป
280 วัน บวก-ลบ 7 วัน ก็จะได้ช่วงปฏิสนธิ (สำหรับคนที่อยู่ในครรภ์มารดาครบ 9
เดือนตามปกติ แต่ถ้าคลอดก่อนกำหนดก็ต้องคำนวณตามเวลาที่อยู่ในครรภ์จริง)
จากนั้นดูจากผังข้างล่างนี้
มารดาตั้งครรภ์เดือน
พฤษภาคม
มิถุนายน กรกฎาคม ทารกที่เกิดมีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุไฟ
สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม ทารกที่เกิดมีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุลม
พฤศจิกายน
ธันวาคม มกราคม ทารกที่เกิดมีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุน้ำ
กุมภาพันธ์
มีนาคม เมษายน ทารกที่เกิดมีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุดิน
แต่คนโดยมากมักจำเพียงวันเกิด
ดังนั้นการหาธาตุเจ้าเรือนอย่างคร่าวๆ ก็ดูได้จากผังข้างล่างนี้
ผู้ที่เกิดเดือน
พฤษภาคม
มิถุนายน กรกฎาคม มีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุลม
สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม มีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุน้ำ
พฤศจิกายน
ธันวาคม มกราคม มีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุดิน
กุมภาพันธ์
มีนาคม เมษายน มีธาตุเจ้าเรือนเป็น ธาตุไฟ
ในช่วง 6 ขวบปีแรก
ธาตุเจ้าเรือนจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต่อเมื่อเติบโตขึ้นแล้ว
ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ ของเจ้าตัว
ก็อาจทำให้ธาตุเจ้าเรือนมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเราเรียกตัวนี้ว่า ธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน
โดยอาศัยสังเกตจากลักษณะอาการประจำธาตุเจ้าเรือน
ได้แก่
ธาตุเจ้าเรือนดิน บุคลิกค่อนข้างนิ่งๆ เงียบๆ
ทำอะไรค่อนข้างเฉื่อย ปัญหาสุขภาพที่มี- มีปัญหาการขับถ่ายยาก ปวดเมื่อย ปวดข้อ
ธาตุเจ้าเรือนน้ำ บุคลิกค่อนข้างรักความสบายๆ อ่อนไหว โรแมนติค
ปัญหาสุขภาพที่มี-มักเป็นคนขี้หนาว เป็นหวัดง่าย ความดันโลหิตสูง
ธาตุเจ้าเรือนลม บุคลิกเป็นคนทำอะไรเร็ว เปลี่ยนแปลงเร็ว
ปัญหาสุขภาพที่มี-มักท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมมาก
ธาตุเจ้าเรือนไฟ บุคลิกเป็นคนเร็วคล้ายธาตุลม
แต่ปนความร้อนแรง กร้าวมากกว่า ไม่ค่อยยอมใคร ตัดสินใจเร็ว ปัญหาสุขภาพที่มี-มักร้อนในง่าย
เป็นแผลเปื่อยแผลในปากบ่อย ความดันโลหิตต่ำ
(ข้อความนี้
เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนนะคะ แต่มีคนคัดลอกไปใช้ รวมทั้งเว็บไซต์บางเว็บ
หากใครอ่านเจอข้อความเหมือนกัน ขอให้ทราบด้วยว่า นี่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน
ไม่ได้คัดลอกจากใคร แม้แต่ในตำราของอ.จงกชพร ก็ไม่ได้ใช้สำนวนแบบนี้)
นี่เป็นลักษณะเด่นๆ
แต่บางคนอาจมีลักษณะธาตุเจ้าเรือนปะปนกันได้ เช่น คนธาตุน้ำ ค่อนมาทางธาตุดิน
หรือธาตุลม มักไม่ค่อยมีอาการความดันโลหิตสูง
ส่วนน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ใช้ในการรักษาสุขภาพในศาสตร์อโรมาเธอราพี
ดร.มาร์ตินก็ได้จำแนกเอาไว้ ดังนี้
ธาตุเจ้าเรือนดิน ลักษณะเด๋นของน้ำมันหอมประจำธาตุดินคือ
ส่วนใหญ่มีกลิ่นออกทางกลิ่นไม้ กลิ่นดิน และมักมีการออกฤทธิ์เป็นตัวตรึงกลิ่น
ทำให้กลิ่นหอมตัวอื่นอยู่ได้นานขึ้นอาทิ แพ็ทชูลี่ ไพล แฝกหอม ไม้จันทน์ กระดังงา
มะลิ ฯลฯ
รากแฝกหอม ธาตุเจ้าเรือนดิน Vetiver Earth element |
ธาตุเจ้าเรือนน้ำ ลักษณะที่จำง่ายก็คือ
ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นดอกไม้หอมหวาน และมักมีการออกฤทธิ์ในการทำให้ความดันโลหิตต่ำลง อาทิ
ลาเวนเดอร์ เจอเรเนียม กำยาน มะลิ กระดังงา โหระพา เมลิสสา ฯลฯ
ธาตุเจ้าเรือนลม จำง่ายค่ะ คือกลิ่นตระกูลส้ม
และตระกูลมินต์ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมในตระกูลส้มก็คือ
หากทาผิวต้องงดตากแดดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง มิเช่นนั้นผิวจะไหม้คล้ำ อาทิ มะกรูด
มะนาว ส้ม แมนดาริน เนโรลิ (ดอกส้ม) มินต์ เปปเปอร์มินต์ โหระพา เมลิสสา ไพน์
ตะไคร้ ตะไคร้หอม ฯลฯ
เลมอน พืชตระกูลส้ม ธาตุเจ้าเรือนลม Lemon Wind element |
ธาตุเจ้าเรือนไฟ โดดเด่นในเรื่องกลิ่นที่ส่วนใหญ่ออกจากเผ็ดร้อน
มักมีการออกฤทธิ์ที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาทิ ยูคาลิปตัส โรสแมรี่ ทีทรี
กานพูล ขิง อบเชย การบูร พิมเสน โรสวูด ไม้จันทน์ ไพน์ ตะไคร้ ตะไคร้หอม ฯลฯ
ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่เป็นกลาง
เข้ากับทุกธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ กุหลาบ และคาโมไมล์
Chamomile |
จะเห็นว่า น้ำมันหอมบางตัว
ถูกจัดอยู่ในธาตุเจ้าเรือนถึง 2 ธาตุ ก็เพราะมีคุณสมบัติบางอย่างที่คาบเกี่ยวกัน
เช่นเดียวกับลักษณะของคน ที่ธาตุเจ้าเรือนอาจคาบเกี่ยวกันได้ ถ้าดูจากผังน้ำมันหอมก็จะจำได้ง่ายขึ้นนะคะ
หลักธาตุเจ้าเรือนนี้จะช่วยให้การเลือกน้ำมันหอมมาบำบัดรักษาได้ตรงกับลักษณะของแต่ละคนได้เร็วและถูกต้องมากขึ้น
โดยคำนึงถึงธาตุเจ้าเรือนกำเนิดเป็นหลัก
แต่หากธาตุเจ้าเรือนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นธาตุตรงข้ามกับธาตุเจ้าเรือนกำเนิดก็ให้คำนึงถึงธาตุเจ้าเรือนปัจจุบันเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น
ในกรณีที่เป็นหวัด
น้ำมันหอมที่รักษาหวัดได้มีหลายตัว เช่น ยูคาลิปตัส และลาเวนเดอร์
ถ้าคนธาตุเจ้าเรือนไฟ ซึ่งมักมีความดันโลหิตต่ำ ควรใช้ยูคาลิปตัส เพราะที่ไม่มีการออกฤทธิ์ให้ความดันต่ำ
ส่วนคนธาตุเจ้าเรือนน้ำ
(ซึ่งมักมีความดันโลหิตสูง) หากเลือกใช้ยูคาลิปตัส
แทนที่จะใช้ลาเวนเดอร์ซึ่งประจำธาตุเจ้าเรือนของตัวเอง
ก็อาจทำให้เกิดอาการมึนปวดศีรษะได้
ส่วนใหญ่คนที่มีธาตุเจ้าเรือนอะไร
มักชอบกลิ่นน้ำมันหอมในธาตุเจ้าเรือนของตัว
และมักไม่ค่อยชอบกลิ่นที่อยู่ในธาตุเจ้าเรือนตรงข้าม ซึ่งที่ผู้เขียนเจอส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้
แต่มีบางคน ก็ชอบกลิ่นจากธาตุเจ้าเรือนอื่นด้วย ซึ่งอยู่ที่ประสบการณ์ของแต่ละคน
ลาเวนเดอร์เหมาะกับคนธาตุน้ำ Lavender Water element |
การใช้หลักธาตุเจ้าเรือนนี้ เป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธีการเลือกใช้
แต่การจะเลือกให้ตรงกับบุคลิกและอาการจริงๆ ก็ต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วย
บางคนเลือกกลิ่นได้ง่ายๆ เพียงเทสต์กลิ่นสัก
2-3 ชนิด แต่บางคนซับซ้อนมาก กว่าจะพบกลิ่นที่ใช่
ดังนั้น
การทำสูตรน้ำมันหอมให้ได้ผลตรงจุด ผู้ใช้จึงควรมาเลือกดมกลิ่นด้วยตัวเอง
และอาจจะผสมกลิ่นขึ้นใหม่ เรียกว่า เป็นสูตรเฉพาะบุคคลก็ว่าได้
สนใจสินค้าอโรมาเธอราพีของ Mystica Spiritual Aromatherapy สามารถดูได้ที่บทความนี้
สนใจสินค้าอโรมาเธอราพีของ Mystica Spiritual Aromatherapy สามารถดูได้ที่บทความนี้