เผยแพร่ครั้งแรกใน
www.aromamodaka.com สิงหาคม
2550 ปรับปรุงเพิ่มเติม ธันวาคม 2558 บทความนี้มีลิขสิทธิ์
การนำไปใช้โปรดอ้างอิงให้ถูกต้อง
อโรมาเธอราพี ในความรู้สึกของคนทั่วไปเป็นเรื่องของความเป็นสมัยใหม่
เรื่องของความหอม ความงาม และสบายๆ น้อยคนนักที่จะรู้ว่า
อโรมาเธอราพีมีคุณประโยชน์มากกว่านั้น
ดังเช่นการผนวกศาสตร์ 2
ศาสตร์ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องตรงกันข้ามเข้าด้วยกัน อย่างเทววิทยากับอโรมาเธอราพี
ก่อนอื่นคงต้องให้คำกำจัดความกับคำทั้งสองคำที่เรากำลังพูดถึงกันนี้เสียก่อน
เทววิทยา คือ วิชา
หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า
โดยเฉพาะที่เรากำลังจะพูดถึงกันในที่นี้ ก็จะเน้นไปในเรื่องของการสื่อสารกับเทพ
การบำรุงบำเรอ และการบูชาเทพ
ส่วนอโรมาเธอราพี
คือศาสตร์แห่งการใช้กลิ่นหอมเพื่อประโยชน์ในเชิงสุขภาพ ซึ่งแต่เดิมก็จำกัดในแง่ของการใช้เพื่อสุขภาพทางกาย
แต่ปัจจุบัน การใช้อโรมาเธอราพีได้ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น รวมไปถึงการใช้เพื่อประโยชน์ในทางจิตวิญญาณ (ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วจากบทความก่อน)
และตามหลักอโรมาเธอราพีที่ถูกต้องจริงๆ
แล้ว กลิ่นหอมดังกล่าว จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกลิ่นหอมที่สกัดได้จากแหล่งธรรมชาติ
อันได้แก่สมุนไพรต่างๆ หากเป็นกลิ่นหอมที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ของทำเทียมธรรมชาติเราจะไม่ใช้
ศาสตร์สองศาสตร์นี้
สามารถเชื่อมโยงกันได้ ด้วยว่าเรากำลังกล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นเรื่องในทางจิตวิญญาณ
เรื่องที่เป็นธรรมชาติแบบเหนือธรรมชาติ (เหนือสิ่งที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้) สิ่งที่เป็นสะพานเชื่อมโยงนี้เรียกว่า
ปราณ และธาตุ
การบำรุงบำเรอ หรือบูชาเทพเจ้า
เป็นสิ่งมนุษย์เรากระทำมาเนิ่นนาน และแตกแขนงพิธีกรรมและรายละเอียดออกไปมากมาย
แต่สิ่งที่ตรงกันก็คือ การนำสิ่งใด
หรือกระทำการสิ่งใดที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งประเสริฐ
นำไปเป็นเครื่องบูชาแก่เทพเจ้าที่เราเคารพนับถือ เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเรา
การบูชาด้วยเครื่องหอม
เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในการบูชาเทพเจ้าที่ขาดไม่ได้ เพียงแต่รูปแบบที่ใช้สำหรับเทพเจ้าในลัทธิความเชื่อต่างๆ
นั้นแตกต่างกันออกไป
เรามักบูชาท่านด้วย น้ำ
(ถวายน้ำดื่มหรือนม) ไฟ (จุดเทียนหรือตามประทีป) สิ่งที่ทำให้เกิดควัน เช่น ธูป
หรือกำยาน และดอกไม้
กล่าวแต่เฉพาะธูปหรือกำยาน อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดควันและกลิ่นหอม
เป็นการสื่อสารถึงองค์เทพ ธูปหรือกำยาน ล้วนแต่ประกอบมาจากไม้เนื้อหอม และปรุงเพิ่มเติมด้วยกลิ่นหอม
การบูชาด้วยเครื่องหอม
นอกจากการจุดธูปหรือกำยานแล้ว ยังมีวิธีถวายด้วยวิธีอื่นอีก เช่น
การปะพรมด้วยน้ำดอกไม้ หรือน้ำที่ผสมน้ำอบ เป็นต้น
|
กำยานเสก แก้มนวล ทำจากสมุนไพรล้วนๆ รวมทั้งไม้หอมและไม้มงคล ผสานด้วยกาวธรรมชาติ แล้วประจุคาถามงคลเพิ่มเติม เป็นเครื่องหอมที่เหมาะแก่การบูชาพระและเทพ กล่องละ 45 ดอก สอบถามได้ที่ Line: mystica4u อีเมล์ gaemnual2018@gmail.com |
ในแต่ละลัทธิความเชื่อการบูชาเทพ
ส่วนใหญ่ก็มีเครื่องบูชาดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็มีบ้าง
ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ดังเช่น การถวายเครื่องหอมอื่นเพิ่มเติม
อย่างน้ำมันหอมระเหย แบบที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่าอโรมาเธอราพี
การถวายเครื่องหอมนี้ มีอยู่ 2-3 แบบ
สาระสำคัญคือ การทำกลิ่นหอม (ที่ได้จากธรรมชาติ) ให้กำจายกรุ่นอยู่บนแท่นบูชา และองค์เทวรูป
วิธีการแบบแรกคือ
การปะพรมหรือฉีดพรมด้วยน้ำที่มีกลิ่นหอม เช่น น้ำอบ น้ำปรุง น้ำกุหลาบ
น้ำดอกไม้ต่างๆ
วิธีที่สอง
คือการทำบุหงาจะเป็นแบบแห้งหรือสดก็ได้ จัดใส่ภาชนะงามๆ หรือประดิษฐ์เป็นงานฝีมือ
เช่น บุหงาพัดโบก วางไว้บนแท่นบูชา
|
บุหงาพัดโบก ของแก้มนวล ใช้ตกแต่งแท่นพระ เป็นสุคนธบูชา ราคาคู่ละ 450 บาท สอบถามได้ที่ Line: mystica4u อีเมล์ gaemnual2018@gmail.com |
วิธีที่สาม คือ การจุดเตาหรือตะเกียงระเหยกลิ่น
ด้วยเตาหรือตะเกียงแบบไหนก็ได้ตามแต่ที่เราจะหาได้
ประโยชน์ของการถวายเครื่องหอม นอกจากเป็นการบูชาเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างที่เราๆ
ท่านๆ ก็รู้กันโดยทั่วไปแล้ว
ยังมีรายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่าเพียงแค่ความเป็นสิริมงคล
เพราะกลิ่นหอมที่เราได้รับพร้อมกันกับการบูชาเทพ
มีผลต่อจิตใจและร่างกายของเราอย่างที่คาดไม่ถึง
กล่าวในแง่ของสุขภาพ ข้อนี้เข้าหลักโดยตรงของอโรมาเธอราพีสมัยใหม่
เพราะกลิ่นหอมที่เราใช้นี้ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกายเรา จะเดินทางเข้าสู่สมองส่วนลิมบิกซิสเต็ม
ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ลึกลับที่สุดส่วนหนึ่ง
หน้าที่ของสมองส่วนนี้ที่เราพอจะศึกษาได้ในปัจจุบันก็คือ เป็นสมองส่วนความจำ
ความรู้สึก ตลอดจนสั่งงานในการหลั่งฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆ
โดยเฉพาะการหลั่งสารเอ็นโดฟินที่ทำให้เราเกิดความสุขและคลายความเจ็บปวด
ลิมบิกซิสเต็มจะตอบสนองกับกลิ่นที่ได้รับในเสี้ยววินาที
ผู้ที่ได้รับกลิ่นน้ำมันหอมระเหยอยู่เสมอ มักมีสุขภาพที่ดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย
และมีภูมิต้านทานที่สูง
น้ำมันหอมระเหยหลายตัวที่มีผลที่เห็นชัดเจนในเรื่องการทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
เช่น กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
ระงับเชื้อและป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น
ในแง่อารมณ์ความรู้สึก
เมื่อสุขภาพเราดีขึ้น จิตใจและอารมณ์ของเราก็พลอยดีขึ้นไปด้วย
กลิ่นหอมช่วยกล่อมเกลาจิตใจเราให้สงบ มีความสุข และอารมณ์ดี
กลิ่นบางชนิดยังช่วยทำให้เราเกิดความมั่นคงทางใจ ทำให้จิตใจแจ่มใส ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์กับตัวเราทั้งสิ้น
หากแต่ในแง่มุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้บูชาเทพก็คือ
ประโยชน์ในแง่ของจิตวิญญาณ
กล่าวกันในเชิงวิทยาศาสตร์
กลิ่นหอมเมื่อสามารถปรับอารมณ์และความรู้สึกของเราให้ดีได้ เราก็มีสุขภาพจิตที่ดี
ส่งเสริมให้จิตวิญญาณเราเกิดความสงบสุขด้วย กลิ่นบางกลิ่น ช่วยให้เราเกิดสมาธิจิต
เหมาะกับผู้ที่ต้องการนั่งสมาธิ กล่อมเกลาให้จิตที่วอกแวกง่าย หวั่นไหวง่าย
ตั้งอยู่ในสมาธิได้เร็วและมั่นคงขึ้น พัฒนาจิตวิญญาณได้รวดเร็วขึ้น
กล่าวในแง่เทววิทยา
เครื่องบูชาสังเวยเทพที่เราใช้ ล้วนแต่มีปราณในตัวเอง เมื่อเราถวายท่าน
ท่านก็จะเติมสิ่งที่ดีลงในปราณนั้น แล้วส่งกลับมาหาเรา กระบวนการนี้คนโบราณเรียกกันว่า
สิริมงคล
แต่การจะให้ได้รับสิริมงคลดังกล่าว
เราจำต้องสรรหาเครื่องบูชาสังเวยที่ “ถูกต้อง”
กับสภาวะของเทพองค์นั้น
แล้วอะไรล่ะ ที่จะเป็นสิ่งที่ “ถูกต้อง”
ก็คือ เครื่องบูชาสังเวย
ที่มีการทดลองและบันทึกจดจำกันมาแล้วว่า เป็นสิ่งที่ท่าน “โปรด” ดังเช่น องค์พระคเณศ โปรดขนมเนื้อมัน หอม องค์พระลักษมี
โปรดขนมที่มีรสหวานอ่อนๆ เจ้าแม่กวนอิมโปรดอาหารเจ เทพโอดินโปรดเหล้าน้ำผึ้ง
เป็นต้น
กลิ่นหอมก็เช่นเดียวกัน
เมื่อเราเลือกน้ำมันหอมระเหยที่ถูกต้องตามคุณสมบัติและภาวะของเทพองค์นั้นๆ ก็คือ
เราได้ถวายสิ่งที่มี “ปราณ” ที่ถูกต้อง เมื่อถูกต้องท่านก็พอพระทัย
แล้วท่านก็จะเติมสิ่งที่ดี หรือ “สิริมงคล” กลับคืนสู่เรา
แต่ทว่า หากเราถวายสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เช่น น้ำมันหอมสังเคราะห์ ซึ่งเป็นของปลอม ของที่ไม่มีปราณ ก็แปลว่า
เราถวายสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของเทพ เราก็ย่อมได้รับความล้มเหลว ความสับสน
และเกิดสิ่งที่คนโบราณเรียกว่า อัปมงคล
น้ำมันหอมระเหยนั้น
ได้จากการเคี่ยวสกัดอย่างเข้มข้น คั้นเอาสิ่งที่เป็น “แก่น” ของพืชนั้นออกมาให้บริสุทธิ์ ดังนั้นจึงมี “ปราณ” ที่เข้มข้นยิ่งกว่า มากกว่าดอกไม้สด หรือแม้แต่น้ำดอกไม้
การถวายกลิ่นหอมแด่องค์เทพ
จึงจำเป็นต้องเลือกกลิ่นให้เหมาะสม ขณะเดียวกันสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ
ต้องเลือกสิ่งที่ได้จากธรรมชาติจริงๆ ไม่ใช่กลิ่นสังเคราะห์
จึงจะเกิดสิริมงคลสูงสุด
เทววิทยาและอโรมาเธอราพี
อาจดูเหมือนเป็นศาสตร์ที่ต่างสาขา แต่ศาสตร์ทั้งสองนี้ กลับเชื่อมโยงและ
เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
|
เทวีฮาเธอร์ เทวีแห่งพิธีกรรมและความอุดมสมบูรณ์ของอียิปต์ เทพนารีผู้อุปถัมภ์การใช้น้ำมันหอมระเหย |
ถ้าคุณเป็นผู้บูชาเทพ ก็สามารถใช้อโรมาเธอพีในการบวงสรวงบูชา
เพิ่มความเป็นสิริมงคล และพัฒนาจิตวิญญาณในส่วนลึก ขณะเดียวกัน
หากคุณกำลังศึกษาอโรมาเธอราพี การบูชาเทพที่อุปถัมภ์การปรุงน้ำมันหอมระเหยก็จะส่งเสริมความก้าวหน้าที่ลึกซึ้งในการใช้กลิ่นหอมของคุณ
การเลือกกลิ่นในการถวายเทพ
สำหรับเทพบางองค์จะมีกลิ่นที่โปรดปรานอยู่แล้ว
หรือมีข้อบังคับให้ถวายบูชาอยู่แล้ว ได้แก่ เจ้าแม่กาลีโปรดการบูร
พระเทวีไอซิสโปรดกลิ่นคัฟฟี่ จอมเทพโอดินโปรดซีดาร์วูด พระนารายณ์โปรดใบกะเพรา เป็นต้น
|
น้ำมันหอมสูตรพุทธบูชา สำหรับถวายแด่พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ และเทพสายพุทธทุกองค์ |
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธและเทพท้องถิ่นของไทย
อันได้แก่ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระแม่ธรณี ฯลฯ การถวายเครื่องหอม
ไม่มีข้อบังคับ เป็นไปตามความพอใจของผู้บูชามากกว่า
ส่วนมากนิยมถวายเครื่องหอมในการสรงน้ำในโอกาสสำคัญ
โดยการใช้น้ำอบ หรือน้ำปรุง ผสมกับน้ำสะอาด
|
น้ำอบและน้ำปรุง ตำรับชาววังของแก้มนวล เหมาะสำหรับการใช้บูชาพระและเทพ สนใจสอบถามที่ Line : mystica4u |
เราสามารถถวายเครื่องหอมเพิ่มเติมในการบูชาประจำวันได้
เช่น อาจจัดวางบุหงาไว้ประดับแท่นบูชา หรือสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการจุดธูป
ก็อาจใช้น้ำมันหอมระเหยหยดในเตาระเหยกลิ่นถวายเป็นพุทธบูชาแทนก็ได้
น้ำกุหลาบออร์แกนิคในขวดสเปรย์ใช้ง่าย
ผู้เขียนได้ใช้น้ำกุหลาบ Rose Hydrosol ถวายบูชา ด้วยการใส่ขวดสเปรย์ ฉีดพรมบนแท่น ก็พบว่า
ช่วยทำให้แท่นบูชาสว่างไสวดี นอกจากนี้ ยังได้ลองทำน้ำดอกไม้ขึ้นใหม่
โดยเลือกน้ำมันหอมที่มีประวัติในการใช้ในพิธีศักดิ์สิทธิ์
มาผสมแล้วลองถวายแทนน้ำกุหลาบ ก็ได้รับการตอบรับที่ดี
โดยเฉพาะเทพที่ใกล้ชิดบางองค์กลับโปรดปรานกลิ่นที่ผู้เขียนทำถวายมากกว่าน้ำกุหลาบเสียอีก
ผู้เขียนตั้งชื่อน้ำดอกไม้บูชาเทพใหม่นี้ว่า
Sacred
Scent
กลุ่มเทพอินเดีย
เทพกลุ่มนี้การถวายเครื่องหอมมีความสำคัญมากกว่าเทพฝ่ายพุทธ นอกจากดอกไม้สดแล้ว
การถวายเครื่องหอมอื่นเพิ่มเติมจะให้ประโยชน์แก่ผู้บูชา โดยเฉพาะการบูชาเทพสตรี
อย่างเช่น ตรีศักติ (พระลักษมี พระอุมา พระสรัสวตี)
การถวายน้ำกุหลาบ ที่ผู้เขียนประยุกต์นำมาใส่ขวดสเปรย์ฉีดพรม
เป็นที่โปรดปรานของเทพอินเดียมาก โดยเฉพาะเจ้าแม่กาลี หรือใช้น้ำมันหอมระเหยในเตาระเหยกลิ่นก็เหมาะสม
|
น้ำมันหอมสูตรเทพมนตรา สำหรับถวายเทพอินเดีย |
กลิ่นที่เหมาะกับเทพอินเดีย
กลิ่นที่ใช้ถวายได้ทุกองค์ได้แก่ แซนดัลวูด (ไม้จันทน์) กุหลาบ มะลิ ส่วนกลิ่นที่เหมาะจะถวายแต่ละองค์
โปรดดูในหนังสือ คู่มือบูชาเทพของ อ.กิตติ วัฒนะมหาตม์
เพราะผู้เขียนได้ให้ข้อมูลไว้แล้ว จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้
|
หนังสือคู่มือบูชาเทพ ฉบับสมบูรณ์ ของกิตติ วัฒนะมหาตม์ สนพ.สร้างสรรค์บุคส์ |
กลุ่มเทพฝ่ายจีน ซึ่งผู้เขียนหมายถึง
เทพที่ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ เช่น พระแม่หนี่วา เจ้าแม่ทับทิม เทวีฉางเอ๋อ
แม้ไม่มีข้อบังคับเรื่องกลิ่นหอม แต่ก็โปรดการถวายกลิ่นหอมบูชาเช่นกัน
เทพฝ่ายจีนนี้
ผู้เขียนได้ผสมกลิ่นหอมขึ้นมาใหม่ โดยใช้แผนผังของยันต์โป๊ยก่วยเป็นหลัก ปรากฏว่า
เป็นที่โปรดปรานของเทพฝ่ายจีนที่บูชาอยู่เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระแม่หนี่วา
และพระแม่เหอเซียนกู (หนึ่งในแปดเซียน)
|
น้ำมันหอมสูตรหยินหยางเบลนด์ สำหรับถวายเทพจีน กลิ่นนี้ยังช่วยให้ผู้บูชามีความคิดหลักแหลม คมชัด |
หากต้องการถวายกลิ่นหอมแด่เทพจีน
ผู้เขียนแนะนำให้ถวายเป็นกลิ่นไม้มงคล เช่น แซนดัลวูด ซีดาร์วูด กำยาน (Benzoin) เมอร์ หรือกลิ่นจากไม้หรือดอกไม้ที่มีความผูกพันหรือเป็นสัญลักษณ์ของเทพองค์นั้นตามตำนาน
เช่น กลิ่นกุ้ยฮวา สำหรับพระแม่ฉางเอ๋อ เทวีแห่งพระจันทร์ เป็นต้น
|
น้ำมันหอมสูตรอียิปต์เบลนด์ ได้แรงบันดาลใจมาจากสูตรคัฟฟี่โบราณ |
กลุ่มเทพอียิปต์ เทพกลุ่มนี้
เครื่องหอมมีความสำคัญมาก ในคำถวายเครื่องบูชา นอกจาก อาหาร น้ำ แล้วยังมีสมุนไพร
และน้ำมันหอม คือ เมร์เค็ต เทพแต่ละองค์จะมีกลิ่นที่ตำราระบุไว้แล้วว่า
เป็นกลิ่นหอมของท่าน แต่เราสามารถถวายกลิ่นหอมที่เป็นกลางๆ สำหรับเทพองค์ไหนก็ได้
ก็คือ กุหลาบ มะลิ แซนดัลวูด กำยาน เมอร์ แฟรงคินเซ้นส์ หรือจะถวายด้วยน้ำมันหอมสูตรอียิปต์เบลนด์ ที่ผู้เขียนผสมขึ้นใหม่ โดยปรับปรุงจากสูตรคัฟฟี่ ซึ่งเป็นเครื่องหอมบูชาเทพดั้งเดิมของอียิปต์
|
แท่นบูชาเทพเจ้าไวกิ้ง ประกอบด้วย จอมเทพโอดิน พระเทวีเฟรยา และมหาเทพธอร์ |
กลุ่มเทพไวกิ้ง
เทพกลุ่มนี้ก็เช่นเดียวกับเทพอียิปต์ ที่เครื่องหอมมีความสำคัญ
และมีการระบุไว้เรียบร้อยแล้วว่ากลิ่นหอมชนิดใดเหมาะกับเทพองค์ใด และที่ขาดไม่ได้คือ น้ำกุหลาบ
เนื่องจากการบูชาเทพไวกิ้ง เรามักบูชาเป็นชุด 3 องค์ คือจอมเทพโอดิน พระเทวีเฟรยา และมหาเทพธอร์ ผู้เขียนจึงได้ผสมกลิ่นน้ำมันหอมขึ้นใหม่ เพื่อสะดวกในการถวายบูชาเทพทั้งสาม บนแท่นบูชาเดียวกัน คือสูตรไวกิ้งเบลนด์ ใช้สูตรนี้เพียงสูตรเดียว แทนการถวายน้ำมันหอมของแต่ละองค์เทพได้เลย
|
น้ำมันหอมสูตรไวกิ้งเบลนด์ สำหรับถวายเทพไวกิ้ง |
การถวายสุคนธบูชาด้วยน้ำมันหอมธรรมชาติ จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้บูชา ในระดับที่ลึกซึ้งกว่าการใช้เครื่องหอมธรรมดาทั่วไป
ดูผลิตภัณฑ์อโรมาเธอราพีสำหรับการบูชาเทพและการใช้งานทางด้านจิตวิญญาณ ได้ที่นี่ค่ะ
สนใจผลิตภัณฑ์เครื่องหอมไทย เช่น กำยานเสก บุหงาพัดโบกของแก้มนวล ติดตามได้ที่นี่ค่ะ